เมนู

2. อนิทัสสนธรรม เป็นปัจจัยแก่สนิทัสสนธรรม ด้วย
อำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอนิทัสสนธรรม ที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัย
กายนี้ที่เป็นสนิทัสสนธรรม ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย.
3. อนิทัสสนธรรม เป็นปัจจัยแก่สนิทัสสนธรรม และ
อนิทัสสนธรรม ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอนิทัสสนธรรม ที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่
กายนี้ที่เป็นสนิทัสสนธรรม และอนิทัสสนธรรม ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของ
ปัจฉาชาตปัจจัย.

12. อาเสวนปัจจัย


[210] 1. อนิทัสสนธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิทัสสนธรรม
ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลาย ที่เกิดก่อน ๆ ฯลฯ

13. กัมมปัจจัย


[211] 1. อนิทัสสนธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิทัสสนธรรม
ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ นานาขณิกะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่

เจตนาที่เป็นอนิทัสสนธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตต-
สมุฏฐานรูปทั้งหลาย ที่เป็นอนิทัสสนธรรม ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.
ที่เป็น นานาขณิกะ ได้แก่
เจตนาที่เป็นอนิทัสสนธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น
อนิทัสสนธรรม ที่เป็นวิบาก และกฏัตตารูปทั้งหลาย ที่เป็นอนิทัสสนธรรม
ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.
2. อนิทัสสนธรรม เป็นปัจจัยแก่สนิทัสสนธรรม
ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ นานาขณิกะ พึงให้พิสดาร.
3. อนิทัสสนธรรม เป็นปัจจัยแก่สนิทัสสนธรรม
และอนิทัสสนธรรม ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ นานาขณิกะ พึงให้พิสดาร.

14. วิปากปัจจัย ฯลฯ 19. สัมปยุตตปัจจัย


[212] 1. อนิทัสสนธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิทัสสนธรรม
ด้วยอำนาจของวิปากปัจจัย

มี 3 วาระ.
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย มี 3 วาระ
พึงกระทำกวฬีการาหาร
ในแม้ทั้ง 3 วาระ.
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย มี 3 วาระ
พึงกระทำรูปชีวิตินทรีย์
ในแม้ทั้ง 3 วาระ.